สารเคมีอมตะ ยากที่จะย่อยสลาย แถมกระตุ้นการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
Science News Categories
Publish date
05/01/2024
Image

สารเคมีจำพวก PFAS ที่พบได้ทั่วไป อาจตกค้างในร่างกายก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ และกระตุ้นการแพร่ขยายของเซลล์มะเร็ง

 

ผลการศึกษาล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร “วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี” (Environmental Science & Technology) โดยทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเยล สหรัฐฯ พบว่า เมื่อทดลองให้สารประกอบฟลูออรีน PFAS (Perfluoroalkyl and Polyfluoroalkyl Substances) กับเซลล์มะเร็งลำไส้ จะมีการกลายพันธุ์และขยายตัวของเซลล์มะเร็งมากขึ้น ซึ่งบ่งชี้ได้ว่าสารเคมีจำพวก PFAS อาจมีส่วนกระตุ้นการลุกลามของเซลล์มะเร็ง สามารถตกค้างในร่างกายและก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ เช่น ภูมิคุ้มกันอ่อนแอในเด็ก ปัญหาการสืบพันธุ์ หรือปัญหาน้ำหนักตัวน้อยในเด็กแรกเกิด

1

PFAS เป็นสารเคมีที่มนุษย์สร้างขึ้น ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีหลากหลายชนิด และพบได้ทั่วไป ทั้งในภาชนะเคลือบผิวกันน้ำ เสื้อผ้า พรม หรือแม้กระทั่งน้ำดื่ม ต่างก็มีการปนเปื้อนของ PFAS ซึ่งย่อยสลายได้ยาก ไม่ว่าจะด้วยการทำความร้อน การใช้จุลินทรีย์หรือแบคทีเรีย จนได้ฉายาว่าเป็นสารเคมีอมตะ แม้จะไม่สามารถกำจัดสารเคมีเหล่านี้ให้หมดสิ้นไปได้ การลดปริมาณการใช้ PFAS ก็น่าจะเป็นผลดีต่อสุขภาพของตัวเราและคนรอบข้างได้ไม่มากก็น้อย

2
ที่มาของแหล่งข้อมูล https://www.bbc.com/thai/articles/cd1dnd0vv9eo