คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับสถาบันวิจัยจากประเทศเยอรมนี ศึกษาดีเอ็นเอในกระดูกและฟันของมนุษย์โบราณ ชี้ให้เห็นว่ามีอายุอยู่ในช่วง 1,700 ปีก่อนและทราบถึงความสัมพันธ์กับประชากรในพื้นที่ใกล้เคียงในสมัยนั้น
ศ.ดร.รัศมี ชูทรงเดช นักวิจัยมหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดี ร่วมกับ รศ. ดร.วิภู กุตะนันท์ นักพันธุศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนเรศวร ผู้ที่เชี่ยวชาญด้านการศึกษาสายตระกูลคนไทยผ่านพันธุกรรม และ Selina Carlhoff Ph.D. ทีมนักวิจัยนานาชาติของสถาบันวิจัย Max Planck Institute for Evolutionary anthropology ประเทศเยอรมนี ได้ทำการศึกษาดีเอ็นเอที่หลงเหลืออยู่จากชิ้นส่วนกระดูกและฟันโบราณจำนวน 33 ชิ้น บริเวณอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้ถือเป็นเรื่องใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ใช้ดีเอ็นเอเพื่อเผยให้เห็นความสัมพันธ์ทางเครือญาติ ของประชากรที่อยู่ในถ้ำเดียวกัน และถ้ำในพื้นที่ใกล้เคียง สะท้อนให้เห็นถึงปฏิสัมพันธ์ของผู้คนในอดีต การใช้ชีวิตประจำวัน และพิธีกรรม
ด้วยจำนวนตัวอย่าง และคุณภาพของดีเอเอ็นที่หลงเหลืออยู่ ส่งผลให้งานวิจัยชิ้นนี้นับเป็นงานวิจัยที่สมบูรณ์ที่สุดในปัจจุบัน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีเพราะการศึกษาดีเอ็นเอโบราณในเขตร้อนชื้นอย่างในประเทศไทยมีโอกาสสำเร็จค่อนข้างยาก เนื่องจากอุณภูมิและความชื้นเหล่านี้ได้ทำลายความสมบูรณ์ของดีเอ็นลงไปเป็นอย่างมาก
แหล่งที่มาของข่าว https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_8085827 DOI:10.1038/s41467-023-44328-2