“ดาวฤกษ์เทียม” ภารกิจใหม่แห่งห้วงอวกาศ
Publish date
27/06/2024
Image
1

นาซาผุดโครงการ Landolt Mission ภารกิจส่งดาวฤกษ์เทียมเพื่อไปวัดค่าความสว่างสัมบูรณ์ของดาวฤกษ์

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ นาซา ส่ง "ดาวฤกษ์เทียม" ขึ้นสู่วงโคจรโลกสำเร็จ โครงการนี้มีชื่อว่า "Landolt Mission" ที่ต่อยอดจากงานวิจัยของ อาร์โล แลนดอลท์ นักดาราศาสตร์ผู้ล่วงลับ ผู้บุกเบิกการจัดเก็บข้อมูลความสว่างของดาวฤกษ์ โดยดาวฤกษ์เทียมนี้ประกอบไปด้วยเลเซอร์ 8 ชิ้น โคจรรอบโลกที่ระยะทาง 35,785 กิโลเมตร แสงเลเซอร์จากดาวเทียมนี้จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนแสงดาว ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถวัดค่าความสว่างสัมบูรณ์ (absolute flux calibration) ของดาวฤกษ์ได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น

 

4

 

จุดประสงค์หลักของ Landolt Mission คือการเปรียบเทียบความสว่างของดาวฤกษ์เทียมกับดาวฤกษ์จริง โดยกำหนดอัตราการปล่อยอนุภาคแสง (photon) จากเลเซอร์เอาไว้ เสมือนการตั้งค่าความสว่างมาตรฐาน เพื่อใช้เทียบกับความสว่างของดาวฤกษ์จริง ช่วยให้การวัดความสว่างของดาวต่าง ๆ มีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น ซึ่งผลลัพธ์จากโครงการนี้คาดว่าจะมีประโยชน์ในการนำไปใช้หาดาวเคราะห์คล้ายโลกที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยของมนุษย์ในอนาคต และยังช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ไขความลับของพลังงานมืด (Dark energy) และอัตราการขยายตัวของจักรวาลได้อีกด้วย

 

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนาซายังไม่มีกำหนดการส่งดาวเทียม Landolt Mission ขึ้นสู่อวกาศที่แน่นอน ซึ่งคาดว่าน่าจะเกิดขึ้นในปี 2029

 

1

 

แหล่งที่มาของข่าว

https://www.voanews.com/a/nasa-space-mission-to-launch-artificial-star-into-space/7659088.html

https://www.voathai.com/a/nasa-space-mission-to-launch-artificial-star-into-space/7659633.html

https://landolt.gmu.edu/

 

Created by
ปิโยรส เปรมเสถียร นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ศูนย์พัฒนาความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์แห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ