standard
ฟูลกูไรต์ (Fulgurite) หรือผลึกสายฟ้า เป็นแก้วธรรมชาติที่เกิดจากฟ้าผ่าลงบนผืนดินที่มีปริมาณซิลิกา (Silica) ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของแก้วในปริมาณสูง ทราย ดิน กรวด หรือฝุ่นในบริเวณที่ฟ้าผ่าจะถูกหลอมติดกันด้วยความร้อนสูงหลายพันองศาเซลเซียส มาจากคำว่า Fulgur เป็นภาษาละติน แปลว่าฟ้าผ่า กระแสไฟของสายฟ้าสามารถเคลื่อนที่ลึกลงไปใต้ผืนดิน เลี้ยวลดคดเคี้ยวเหมือนรากต้นไม้แตกสาขา เมื่อเย็นลงและแข็งตัว จะทำให้เกิดผลึกสายฟ้าที่มีรูปร่างแตกต่างกัน ทั้งเป็นก้อน แท่ง หรือมีลักษณะคล้ายรากไม้ตามเส้นทางฟ้าผ่าในทราย แต่แกนกลวงเป็นโพรง พื้นผิวส่วนนอกของผลึกสายฟ้าส่วนใหญ่ขรุขระ สามารถเห็นองค์ประกอบที่ไม่ได้ละลายหมด และขึ้นอยู่กับผืนดินที่ฟ้าผ่า ผลึกสายฟ้ามีได้หลายสี ตั้งแต่ขาว เหลือง น้ำตาล จนสีดำ และในส่วนพื้นผิวโพรงภายในซึ่งได้รับความร้อนมากสุดมีลักษณะเป็นแก้ว มีความเป็นเนื้อเดียวกัน
ผลึกสายฟ้าแบ่งได้ 3 ชนิด คือ ผลึกสายฟ้าทราย (Sand Fulgurite) เกิดจากฟ้าผ่าบนผืนทราย ทำให้มีพื้นผิวภายนอกเป็นเม็ดทรายเกาะกัน และพื้นผิวแกนเป็นแก้วบาง ๆ ผลึกสายฟ้าดินเหนียว (Clay Fulgurite) เกิดจากฟ้าผ่าบนผืนดิน แกนมีส่วนหลอมรวมกันหนากว่า และผลึกสายฟ้าหิน (Rock Fulgurite) พบได้บนเทือกเขา มีโพรงเช่นเดียวกันกับชนิดอื่นแต่มีชั้นนอกเป็นหินแข็งที่ไม่ละลาย
เนื่องจากผลึกสายฟ้าเกิดขึ้นได้ยาก จึงมีการซื้อ-ขาย เพื่อสะสม หรือนำมาเป็นเครื่องประดับ เครื่องราง ของขลัง โดยราคาขึ้นอยู่กับสีสัน ลวดลาย และรูปทรง นอกจากนี้ยังมีผู้ที่พยายามสังเคราะห์ผลึกสายฟ้าโดยการปักสายล่อฟ้าไว้บนทราย หรือใช้กระแสไฟฟ้าแรงสูงจำลองการเกิดฟ้าผ่าเพื่อทำให้เกิดผลึกสายฟ้าอีกด้วย
ภาพจาก https://www.shutterstock.com/th/image-photo/fulgurite-mineral-formed-lightning-fused-materials-1942260139
เรียบเรียงโดย: นุชจริม เย็นทรวง นักวิชาการ กองวิชาการวิทยาศาสตร์ สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
ผลึกสายฟ้าแบ่งได้ 3 ชนิด คือ ผลึกสายฟ้าทราย (Sand Fulgurite) เกิดจากฟ้าผ่าบนผืนทราย ทำให้มีพื้นผิวภายนอกเป็นเม็ดทรายเกาะกัน และพื้นผิวแกนเป็นแก้วบาง ๆ ผลึกสายฟ้าดินเหนียว (Clay Fulgurite) เกิดจากฟ้าผ่าบนผืนดิน แกนมีส่วนหลอมรวมกันหนากว่า และผลึกสายฟ้าหิน (Rock Fulgurite) พบได้บนเทือกเขา มีโพรงเช่นเดียวกันกับชนิดอื่นแต่มีชั้นนอกเป็นหินแข็งที่ไม่ละลาย
เนื่องจากผลึกสายฟ้าเกิดขึ้นได้ยาก จึงมีการซื้อ-ขาย เพื่อสะสม หรือนำมาเป็นเครื่องประดับ เครื่องราง ของขลัง โดยราคาขึ้นอยู่กับสีสัน ลวดลาย และรูปทรง นอกจากนี้ยังมีผู้ที่พยายามสังเคราะห์ผลึกสายฟ้าโดยการปักสายล่อฟ้าไว้บนทราย หรือใช้กระแสไฟฟ้าแรงสูงจำลองการเกิดฟ้าผ่าเพื่อทำให้เกิดผลึกสายฟ้าอีกด้วย
ภาพจาก https://www.shutterstock.com/th/image-photo/fulgurite-mineral-formed-lightning-fused-materials-1942260139
เรียบเรียงโดย: นุชจริม เย็นทรวง นักวิชาการ กองวิชาการวิทยาศาสตร์ สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
ฟูลกูไรต์
Expired date