standard
อุลกมณี (Tektite) คือ หินที่มีลักษณะเป็นแก้ว เกิดจากการที่อุกกาบาตขนาดใหญ่พุ่งชนพื้นผิวโลก แรงกระแทกทำให้ชั้นหินหลอมละลาย และบางส่วนของหินหลอมละลายนั้นถูกดีดออกสู่ชั้นบรรยากาศก่อนตกลงบนผิวโลกอีกครั้ง การที่หินหลอมละลายแข็งตัวขณะร่วงหล่นทำหินหลอมละลายหรืออุลกมณีมีรูปทรงลู่ลม และมีขนาดเล็กเท่าเม็ดทรายน้ำหนักไม่กี่กรัม ไปจนถึงก้อนหินขนาดใหญ่ที่อาจมีน้ำหนัก 15 กิโลกรัม อุลกมณีสามารถมีอายุประมาณ 750,000 ปี ถึง 35.5 ล้านปี
โดยทั่วไปอุลกมณีจะมีสีดำทึบ และผิวขรุขระ แต่บางพื้นที่จะพบอุลกมณีสีเขียว หรือสีน้ำตาลโปร่งแสง มีองค์ประกอบหลักเป็นแร่ซิลิกา หรือซิลิคอนไดออกไซด์ (Silica หรือ Silicon Dioxide) ประมาณร้อยละ 70 ถึง 98 และยังประกอบด้วยอนุภาคของแร่ lechatelierite ซึ่งเกิดจากการหลอมผลึกควอตซ์ด้วยอุณหภูมิ และแรงดันสูง ต่างจากหินออบซิเดียน (Obsidian) ที่มีแร่ซิลิกาสูงเช่นเดียวกัน แต่เกิดจากการเย็นตัวของหินหลอมภูเขาไฟ ระดับความแข็งของอุลกมณีอยู่ที่ประมาณ 6 ถึง 7 ตามโมห์สเกล (Mohs' Scale of Hardness) โดยเรียงลำดับ 1 มีความแข็งเท่าแร่ทัลก์ ถึงลำดับ 10 มีความแข็งเท่าเพชร
เนื่องจากการพุ่งชนของอุกกาบาตรมีความรุนแรงมาก ทำให้สามารถพบอุลกมณีได้ในบริเวณกว้างจากจุดที่อุกกาบาตตกสู่พื้น ครอบคลุมพื้นที่ทะเลและภูเขา ซึ่งอยู่มีประมาณร้อยละ 10 ของพื้นผิวโลก ทั้งบริเวณทวีปออสเตรเลีย ทะเลแคริเบียน ประเทศไอเวอรี่โคสต์ ทวีปยุโรปตอนกลาง และประเทศในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยมีการพบอุลกมณี และมีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น หยดน้ำฟ้า สะเก็ดดาว คดปลวก พลอยจันทรคราส เป็นต้น
เรียบเรียงโดย นุชจริม เย็นทรวง กองวิชาการวิทยาศาสตร์ สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)
โดยทั่วไปอุลกมณีจะมีสีดำทึบ และผิวขรุขระ แต่บางพื้นที่จะพบอุลกมณีสีเขียว หรือสีน้ำตาลโปร่งแสง มีองค์ประกอบหลักเป็นแร่ซิลิกา หรือซิลิคอนไดออกไซด์ (Silica หรือ Silicon Dioxide) ประมาณร้อยละ 70 ถึง 98 และยังประกอบด้วยอนุภาคของแร่ lechatelierite ซึ่งเกิดจากการหลอมผลึกควอตซ์ด้วยอุณหภูมิ และแรงดันสูง ต่างจากหินออบซิเดียน (Obsidian) ที่มีแร่ซิลิกาสูงเช่นเดียวกัน แต่เกิดจากการเย็นตัวของหินหลอมภูเขาไฟ ระดับความแข็งของอุลกมณีอยู่ที่ประมาณ 6 ถึง 7 ตามโมห์สเกล (Mohs' Scale of Hardness) โดยเรียงลำดับ 1 มีความแข็งเท่าแร่ทัลก์ ถึงลำดับ 10 มีความแข็งเท่าเพชร
เนื่องจากการพุ่งชนของอุกกาบาตรมีความรุนแรงมาก ทำให้สามารถพบอุลกมณีได้ในบริเวณกว้างจากจุดที่อุกกาบาตตกสู่พื้น ครอบคลุมพื้นที่ทะเลและภูเขา ซึ่งอยู่มีประมาณร้อยละ 10 ของพื้นผิวโลก ทั้งบริเวณทวีปออสเตรเลีย ทะเลแคริเบียน ประเทศไอเวอรี่โคสต์ ทวีปยุโรปตอนกลาง และประเทศในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยมีการพบอุลกมณี และมีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น หยดน้ำฟ้า สะเก็ดดาว คดปลวก พลอยจันทรคราส เป็นต้น
เรียบเรียงโดย นุชจริม เย็นทรวง กองวิชาการวิทยาศาสตร์ สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)
อุลกมณี (Tektite)
Expired date