นักวิทยาศาสตร์ไขอายุ Star Dune เนินทรายดาวขนาดยักษ์ประเทศโมร็อกโก ได้สำเร็จ พบก่อตัวขึ้นกว่าหมื่นปีที่แล้ว
ศาสตราจารย์จอฟฟ์ ดัลเลอร์ จากมหาวิทยาลัยอาเบอร์ริสต์วิธ และศาสตราจารย์ชาร์ลส์ บริสโตว จากมหาวิทยาลัยเบิร์คเบ็ค ค้นพบอายุของเนินทรายดาว มีอายุถึง 13,000 ปี ที่ประเทศโมร็อกโก ซึ่งเนินทรายดาวได้เกิดจากกระแสลมที่ปะทะจากสองทิศทางมาทับถมกันจนเป็นเนินทรายสูงหลายเมตร นักวิจัยเรียกว่า ลาลา ลัลเลีย (Lala Lallia) โดยเนินดังกล่าว ได้มีการหยุดการขยายตัวเป็นเวลา 8,000 มาแล้ว ซึ่งอาจบอกได้ถึงเรื่องราวของการผันเปลี่ยนของทิศทางลม และฝนในอดีตได้อีกด้วย
นักวิทยาศาสตร์ได้นำเม็ดทรายที่อยู่ในส่วนที่ลึกของเนินทรายเหล่านี้มาตรวจสอบอายุของเนินทราย ด้วยวิธีการเปล่งแสง (Luminescence Dating) โดยวิธีการดังกล่าวเป็นการฉายแสงหม่นสีแดงลงไปใน เม็ดทราย คล้ายวิธีการอัดรูปถ่ายในสมัยก่อน เพื่อตรวจสอบการกักเก็บกัมมันตรังสีของเม็ดทราย ยิ่งเม็ดทรายมีอายุนานเท่าไหร่ ก็จะกักเก็บกัมมันตรังสีได้มาก เราก็จะหาอายุจากกัมมันตรังสีที่กักเก็บไว้ได้ นั่นเอง
แหล่งที่มาของข่าว
1. Bristow, C.S., Duller, G.A.T. Structure and chronology of a star dune at Erg Chebbi, Morocco, reveals why star dunes are rarely recognised in the rock record. Sci Rep 14, 4464 (2024). https://doi.org/10.1038/s41598-024-53485-3