สิ้นเดือนเมษายน ลุ้นชมดาวหาง 12P/Pons-Brooks
Publish date
14/03/2024
Image

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติหรือ NARIT เผยวันที่ 23 เมษายนนี้ ดาวหาง 12P/Pons-Brooks จะโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ทำให้นิวเคลียสของดาวหางรับพลังงานและรังสีจากดวงอาทิตย์มากขึ้น เกิดกลุ่มฝุ่นและแก๊สฟุ้งกระจายออกมามาก ส่งผลให้ดาวหางมีความสว่างมากที่สุดในช่วงเวลาดังกล่าว ผู้สนใจสามารถมองเห็นได้ชัดทางทิศตะวันออก ช่วงหัวค่ำหลังดวงอาทิตย์ตก เป็นต้นไป

 

ดาวหาง 12P/Pons-Brooks นี้จัดเป็นดาวหางหนึ่งในดาวหางคาบสั้นที่มีความสว่างสูง โดยมีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ ใช้ระยะเวลา 71 ปี ซึ่งใกล้เคียงกับดาวหางฮัลเลย์ที่เราคุ้นชื่อกัน  ดังนั้นในช่วงชีวิตของของคนเราอาจมีโอกาสเพียง 1 ครั้งที่ได้เห็นการโคจรของดาวหางดวงนี้ ก่อนที่มันจะจากเราไป แล้วอีก 71 ปี จึงกลับมาโคจรเฉียดดวงอาทิตย์ให้เราได้ติดตามดูใหม่อีกครั้ง  นับเป็นอีกดาวหางหนึ่งที่น่าติดตามชมในปีนี้

 

1

อาจเป็นรูปภาพของ แผนที่ และ ข้อความพูดว่า "วัว(.au) 26เม.ย.2024 21เม.ย.2024 .2024 16เม.ย. ดาวพฤหัสบดี (Ju) แกะ(Ae) เม.ย.2024 27มี.ค. 2024 22มี. 2024 แอนโดรเมดา (Andromeda) 7มี.ค.2024 12มี.ค.2024 7มี.ค. 2024 12P/Pons-Brooks"

แหล่งที่มาของข่าว

NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=795228382647706&id=100064816535612&mibextid=WC7FNe

https://www.thaipbs.or.th/news/content/337881

https://siamrath.co.th/n/520672

 

Created by
สุมัยญา เรืองปราชญ์ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ศูนย์พัฒนาความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์แห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ