จอห์น เอากุสตัส โรบลิง (John Augustus Roebling) เกิด 12 มิถุนายน พ.ศ. 2349
Science News Categories
Publish date
14/03/2023
Expired date
- 08/05/2023
Image
Description
จอห์น เอากุสตัส โรบลิง (John Augustus Roebling) เกิด 12 มิถุนายน พ.ศ. 2349
หากนึกถึง “มหานครนิวยอร์ค” เมืองแห่งสัญลักษณ์ของระบบทุนนิยมและศูนย์กลางของเศษฐกิจโลก นอกจากเทพีแห่งเสรีภาพ ตึกเอมไพร์สเตรทและเมืองที่เต็มไปด้วยตึกสูงระฟ้ามากมายแล้ว ยังมีสะพานบรู๊คลินที่ออกแบบและสร้างขึ้นโดยวิศวกรพ่อลูกตระกูลโรบลิง จอห์นและวอชิงตัน เพื่อลดปัญหาด้านการจราจรทางเรือเฟอรรี่ข้ามแม่น้ำอีสต์ (East River) ระหว่างเมืองแมนฮัตตันและเมืองบรู๊คลินที่คับคั่งเกินไปและเกิดเป็นธารน้ำแข็งในช่วงฤดูหนาว
ในปี พ.ศ.2374 จอห์น เอากุสตัส โรบลิง วิศวกรชาวเยอรมัน ย้ายถิ่นฐานมาสู่อเมริกา ในช่วงแรกเขาทำงานให้กับบริษัทเพนซิลวาเนียเรลโร้ด สำรวจเส้นทางเพื่อข้ามภูเขาอัลลิเกนี่ ต่อมาได้ตั้งโรงงานผลิตสายเคเบิ้ลเหล็กสำหรับให้กับโครงสร้างสะพานแขวนจำนวนไม่น้อยที่ในอเมริกา รวมถึงสะพานแขวนรางรถไฟที่ข้ามแม่น้ำไนแอการ่า บริเวณน้ำตกไนแอการ่าที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ และในปี พ.ศ. 2426 สะพานบรู๊คลินสร้างเสร็จโดยใช้ระยะเวลา 14 ปี แรงงานมากกว่า 600 คน รูปแบบการรับน้ำหนักของสะพานบรู๊คลินเกิดขึ้นฝั่งด้านบนของสะพานแขวน จากโครงสร้างหอสูง 2 หอที่ทำจากหินแกรนิตและสายเคเบิลหลักขนาดใหญ่ 4 เส้น ทำให้แรงดึงที่เกิดขึ้นถูกถ่ายออกไปยังฐานยึดของสายเคเบิลทั้งสองฝั่งหอสูง และสายเคเบิลแนวดิ่งที่ผูกตัดกับเคเบิลแนวนอนติดตลอดแนวระหว่างสายเคเบิลหลักกับตัวสะพาน
แต่ว่าจอห์น เอากุสตัส โรบลิงมิได้เห็นผลงานของขาเกิดอบัติเหตุในขณะที่ตรวจสอบในบริเวณที่จะทำการสร้างสะพานบรู๊คลินและเสียชีวิตในเวลาต่อมาในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2412 ด้วยอายุ 63 ปี ถูกสร้างต่อโดยวอชิงตัน โรบลิง ลูกชายของเขา ปัจจุบันสะพานบรู๊คลินมีอายุการใช้งานมากกว่า 130 ปี และยังคงมีผู้คนและรถราใช้สัญจรไม่ต่ำกว่า 150,000 รายต่อวัน
หากนึกถึง “มหานครนิวยอร์ค” เมืองแห่งสัญลักษณ์ของระบบทุนนิยมและศูนย์กลางของเศษฐกิจโลก นอกจากเทพีแห่งเสรีภาพ ตึกเอมไพร์สเตรทและเมืองที่เต็มไปด้วยตึกสูงระฟ้ามากมายแล้ว ยังมีสะพานบรู๊คลินที่ออกแบบและสร้างขึ้นโดยวิศวกรพ่อลูกตระกูลโรบลิง จอห์นและวอชิงตัน เพื่อลดปัญหาด้านการจราจรทางเรือเฟอรรี่ข้ามแม่น้ำอีสต์ (East River) ระหว่างเมืองแมนฮัตตันและเมืองบรู๊คลินที่คับคั่งเกินไปและเกิดเป็นธารน้ำแข็งในช่วงฤดูหนาว
ในปี พ.ศ.2374 จอห์น เอากุสตัส โรบลิง วิศวกรชาวเยอรมัน ย้ายถิ่นฐานมาสู่อเมริกา ในช่วงแรกเขาทำงานให้กับบริษัทเพนซิลวาเนียเรลโร้ด สำรวจเส้นทางเพื่อข้ามภูเขาอัลลิเกนี่ ต่อมาได้ตั้งโรงงานผลิตสายเคเบิ้ลเหล็กสำหรับให้กับโครงสร้างสะพานแขวนจำนวนไม่น้อยที่ในอเมริกา รวมถึงสะพานแขวนรางรถไฟที่ข้ามแม่น้ำไนแอการ่า บริเวณน้ำตกไนแอการ่าที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ และในปี พ.ศ. 2426 สะพานบรู๊คลินสร้างเสร็จโดยใช้ระยะเวลา 14 ปี แรงงานมากกว่า 600 คน รูปแบบการรับน้ำหนักของสะพานบรู๊คลินเกิดขึ้นฝั่งด้านบนของสะพานแขวน จากโครงสร้างหอสูง 2 หอที่ทำจากหินแกรนิตและสายเคเบิลหลักขนาดใหญ่ 4 เส้น ทำให้แรงดึงที่เกิดขึ้นถูกถ่ายออกไปยังฐานยึดของสายเคเบิลทั้งสองฝั่งหอสูง และสายเคเบิลแนวดิ่งที่ผูกตัดกับเคเบิลแนวนอนติดตลอดแนวระหว่างสายเคเบิลหลักกับตัวสะพาน
แต่ว่าจอห์น เอากุสตัส โรบลิงมิได้เห็นผลงานของขาเกิดอบัติเหตุในขณะที่ตรวจสอบในบริเวณที่จะทำการสร้างสะพานบรู๊คลินและเสียชีวิตในเวลาต่อมาในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2412 ด้วยอายุ 63 ปี ถูกสร้างต่อโดยวอชิงตัน โรบลิง ลูกชายของเขา ปัจจุบันสะพานบรู๊คลินมีอายุการใช้งานมากกว่า 130 ปี และยังคงมีผู้คนและรถราใช้สัญจรไม่ต่ำกว่า 150,000 รายต่อวัน
Post Category