
ตรวจพบผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สูงขึ้นจากปีที่แล้ว หากมีอาการแทรกซ้อนอาจส่งผลต่อชีวิต ควรฉีดวัคซีนทุกปีเพื่อ้องกันความรุนแรงของโรคที่เกิดขึ้น
จากการรายงานของกระทรวงสาธารณสุข ถึงผู้ป่วยที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ (Influenza Virus) ได้มีการรายงานในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 พบผู้ป่วยสะสม 107,570 ราย เสียชีวิต 9 ราย และพบผู้ป่วยใหม่ 15,000 รายต่อสัปดาห์ ในช่วงเวลาเดียวกันในปี 2567 มีผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ A(H1N1) (2009) มีผู้ติดเชื้อ 10,000 รายต่อสัปดาห์ โดยผู้เสียชีวิต 9 ราย มีช่วงอายุตั้งแต่ 11-86 ปี ซึ่งทุกคนฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่แล้ว ซึ่งมักพบผู้ป่วยยสูงสุดในจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้ พะเยา ลำพูน เชียงราก ภูเก็ต เชียงใหม่ ลำปาง กรุงเทพมหานคร น่าน อุบลราชธานี นนทบุรี การแพร่ระบาดในครั้งนี้เกิดจากการผ่อนปรนมาตรการโควิด-19 พร้อมอากาศที่หนาวยาวนานกว่าปกติ
ผู้ที่ความเสี่ยงสูงสุดของติดเชื้อ คือ ช่วงอายุ 5-9 ปี รองลงมาอายุต่ำกว่า 4 ปี ช่วงอายุ 10-14 ปี และผู้สูงอายุ 68 ปีขึ้นไป ตามลำดับ อาการที่พบหลังจากติดเชื้อ คือ ไอ จาม มีน้ำมูกและเสมหะ มีไข้สูง ปวดเมื่อยตัว อาจทำให้กล้ามเนื้ออักเสบร่วมด้วย ผู้ที่มีภาวะหอบหืด หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ หรือแม้กระทั่งผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง และหากเกิดภาวะแทรกซ้อนอาจอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ หากพบอาการดังกล่าวแล้วรุนแรงกว่าปกติ ควรพบแพทย์ทันที
เราสามารถป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่โดยการหมั่นล้างมือด้วยสบู่บ่อย ๆ สวมหน้ากากอนามัยเมื่อออกจากบ้าน หลีกเลี่ยงการไปพื้นที่เสี่ยงหรือเขตชุมชน และการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี ปีละ 1 ครั้ง จะช่วยลดอาการติดเชื้อความรุนแรง

อ้างอิง