ทีมแพทย์จากโรงพยาบาล Great Ormond Street ทดลองนำเครื่องมือกระตุ้นเส้นประสาท (neurostimulator) แบบใหม่มาฝังกะโหลกศีรษะของผู้ป่วยลมชักรุนแรงเพื่อควบคุมอาการลมชักได้สำเร็จ
ในเดือนตุลาคม 2566 ทีมแพทย์ได้ทดลองฝังเครื่องมือกระตุ้นเส้นประสาทกับ โอราน โนวล์สัน เด็กชายจากมณฑลซัมเมอร์เซ็ต ที่ป่วยเป็นโรคลมชักขั้นรุนแรง (Lennox-Gastaut syndrome) โดยอุปกรณ์ดังกล่าวเรียกว่า Picostim ผลิตโดยบริษัท แอมเบอร์ เทอราปูติกส์ (Amber Therapeutics) ในประเทศอังกฤษ ซึ่งจะทำหน้าที่ส่งกระแสไฟฟ้าเข้าไปในส่วนลึกของสมอง เพื่อช่วยลดอาการลมชักในช่วงกลางวันได้ถึง 80% โดยอาการชักกระตุกมีสาเหตุมาจากการผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในสมอง ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวจะปล่อยกระแสชีพจรแบบคงที่ออกไปเพื่อปิดกั้นหรือรบกวนสัญญาณของกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติดังกล่าว
หัวหน้าทีมผ่าตัด มาร์ติน ทิสดัลล์ ที่ปรึกษาด้านกุมารเวชศาสตร์ประสาทวิทยา กล่าวว่า “การศึกษานี้จะช่วยให้พวกเราสามารถชี้ให้เห็นว่า การกระตุ้นสมองส่วนลึกเป็นวิธีการรักษากลุ่มผู้ป่วยลมชักชนิดรุนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ และยังค้นหาอุปกรณ์ใหม่ โดยเฉพาะที่เป็นประโยชน์สำหรับเด็ก เนื่องจากการฝังอุปกรณ์ดังกล่าวจะมีขึ้นบนกะโหลกศีรษะ ไม่ใช่หน้าอกอีกแล้ว”
อ้างอิง