อิฐดินดิบ วัสดุจากธรรมชาติที่อาจช่วยซับน้ำตาผู้ประสบภัยธรรมชาติในโคโลราโด
วันที่ 22 ตุลาคมที่ผ่านมา เว็บไซต์ VOA รายงานว่า ผู้อาศัยในรัฐโคโลราโดที่ประสบปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างรุนแรงทั้งไฟป่าและพายุจนบ้านเรือนถูกเพลิงไหม้เสียหาย ทำให้ต้องการบ้านที่ไม่ติดไฟง่าย ทนแรงลม จึงตัดสินใจสร้างบ้านโดยใช้อิฐดินดิบ หรือ compressed earth blocks ที่ผลิตโดยบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง โดยอิฐนี้ทำจากส่วนผสมของโคลน ทราย ดินเหนียว และปูนขาวที่ทำหน้าที่คล้ายกาวยึดส่วนผสมให้เกาะกัน ก่อนจะนำไปอัดใส่แม่พิมพ์ ตากแดดราวหนึ่งเดือน จึงนำไปใช้สร้างบ้าน โดยบริษัทผู้ผลิตกล่าวว่า อิฐดินดิบนี้ไม่ติดไฟ ทางบริษัทผลิตมาจากของเหลือใช้ คือ ดินเหนียว และตะกอนต่าง ๆ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนราว 40% ของสิ่งที่ขุดขึ้นมาจากการทำอุตสาหกรรมเหมืองแร่และเป็นสิ่งที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์
ทั้งนี้ในการนำอิฐชนิดนี้มาสร้างบ้าน จะต้องเว้นช่องว่างระหว่างแถวของก้อนอิฐสำหรับเติมวัสดุที่เป็นฉนวนละเอียดลงไปในช่องนี้ เพื่อเสริมให้เหล็กเส้นภายในกำแพงดินเหล่านี้ทนทานต่อเหตุแผ่นดินไหวได้ด้วย เนื่องจากสิ่งก่อสร้างจากอิฐดินดิบมักรับแรงจากแผ่นดินไหวไม่ดีนัก
อิฐดินดิบไม่ใช่เรื่องใหม่ เป็นภูมิปัญญาโบราณ การนำมาใช้งานจำเป็นต้องคำนึงถึงข้อจำกัด เรื่องการรับแรงแผ่นดินไหว มีรอยแตกร้าวง่าย และการไม่ทนน้ำ ซึ่งการจะนำมาสร้างบ้านที่อยู่อาศัยจำเป็นต้องศึกษาอย่างรอบคอบ สำหรับประเทศไทยนั้น มีงานวิจัยเพื่อปรับปรุงคุณภาพอิฐดินดิบเพื่อให้เหมาะกับการนำมาใช้งานกับสิ่งปลูกสร้างด้วย
อ้างอิง
https://www.voathai.com/a/unfired-earth-blocks-surpass-modern-building-codes/7703890.html