พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้โรคเขตร้อน แหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ด้านโรคเขตร้อน จัดสร้างขึ้นในโอกาสเฉลิมฉลองการก่อตั้งคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ครบ 55 ปี พื้นที่ประมาณ 163 ตารางเมตร ใช้เทคโนโลยี 4 มิติทั้ง แสง เสียง ภาพ และสัมผัส ในการนำเสนอ
แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 6 โซน ดังนี้
โซน A ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมาของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน
โซน B แหล่งกำเนิดพยาธิตัวจี๊ด
ผลงานวิจัยของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ที่สร้างคุณประโยชน์ในวงวิชาการโลก คือ การค้นพบวงจรชีพของพยาธิตัวจี๊ดครั้งแรกของโลก (World’s first discovery of gnathostoma life cycle)
โซน C แหล่งกำเนิดพยาธิใบไม้ในตับ
นำเสนอวงจรชีวิตพยาธิใบไม้ในตับ เพื่อเป็นแหล่งความรู้ให้ผู้ชมได้ตระหนักถึงอันตรายของพยาธิใบไม้ในตับและโทษของการบริโภคอาหารแบบสุก ๆ ดิบ ๆ
โซน D ผลงานวิจัยเกี่ยวกับโรคพยาธิตัวจี๊ด โรคพยาธิใบไม้ในตับ และโรคมาลาเรีย
ผลงานและองค์ความรู้ที่เกิดจากการศึกษา วิจัย และค้นคว้าจากคณะเวชศาสตร์เขตร้อน รูปแบบการนำเสนอจะหมุนเวียนไปตามกลุ่มของโรค
• โรคที่เกิดจากโปรโตซัว เช่น ไข้มาลาเรียที่มียุงก้นปล่องเป็นพาหะ อาการแสดงของผู้ป่วย โรคแทรกซ้อน การรักษา และการป้องกันไม่ให้เกิดโรค
• โรคที่เกิดจากหนอนพยาธิ เช่น พยาธิใบไม้ในตับ พยาธิตัวจี๊ด และพฤติกรรมการติดโรค จนกระทั่งเกิดมะเร็งท่อน้ำดี การป้องกัน และการรักษา
โซน E แหล่งกำเนิดโรคมาลาเรีย
นำเสนอแบบจำลองของบรรยากาศป่าไม้ ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงพาหะนำโรคไข้มาลาเรียในประเทศไทย คือ ยุงก้นปล่อง และนำเสนอวงจรชีวิตของยุงก้นปล่องและแนวทางการป้องกันโรคมาลาเรีย
โซน F ความร่วมมือกับนานาชาติ
นำเสนอความร่วมมือกับองค์การต่างประเทศและการสร้างเครือข่ายพันธมิตร
ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ
ชั้น 1 อาคารศรชัย หลูอารีย์สุวรรณ 420/6 ถ.ราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
โทรศัพท์ : 02-306-9135
โทรสาร : 02-354-9139
เว็บไซต์ : http://www.tm.mahidol.ac.th/th/th-news-tm-view.php?news_id=2736
อีเมล : tropmedmuseum@gmail.com
วันและเวลาทำการ
ทุกวันจันทร์-ศุกร์ วันละ 6 รอบ (เวลา 9.00/10.00/11.00/13.00/14.00/15.00 น.)
https://www.museumthailand.com/th/museum/Discovery-Museum-of-Tropical-Diseases